ห่างหายจากการทำ Project ไปนานหลายเดือน สาเหตถหลักๆก็มาจากงานนี่หละครับ เลิกงานมาผมก้หมดแรงซะแล้ว แถมต้องทำงานตั้งแต่จันทร์ถึงเสาร์อีก พอจะออกมาก้ออกไม่ได้ เพราะออกมาทำ Project ก้คงจะไม่มีเงินกินเงินใช้ (ไม่ได้ขอเงินพ่อแม่แล้วนะ เออ) แต่ก็ช่างเถอะครับ มาเข้าเนื้อหาดีกว่า
บทความนี้จะเป็นการรื้อฟื้นความรู้พื้นฐานของ RFID ของผมเอง เป็นการสรุปสาระสำคัญสั้นๆ ง่ายๆ เน้นใช้งานจริง
RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
ที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแท่งหรือบารโคด (Barcode)
**ผมว่าการจะเอามาแทน Barcode โดยตรงเลย คงยากและอาจจะใช้เวลานานนะครับ เพราะราคาต้นทุนของ Tag ไหนจะตัวอ่านอีก แพงกว่าเห้นๆ ผมว่า Barcode ยังอยุ่ได้อีกนานในตลาดการค้านะครับ เพราะคถ้มค่ากว่าเยอะ แถมตอนนี้ก็มี barcode แบบใหม่ที่เรียกว่า QR-CODE อีก (แล้วไหงตูมาทำ Proejct RFID ฟะเนี่ย)
===============================================================
ส่วนประกอบหลักๆของ RFID มีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ
1. ตัว Reader ทำหน้าที่ส่งสัญญาณวิทยุ ไปให้กับ Tag และทำการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ตัว Reader จะมี IC ที่ใช้ควบคุมและเสาอากาศที่ใช้ในการรับส่งข้อมุล
2. ตัว Tag ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและติดต่อกับตัว Reader
==============================================================
ข้อดีของ RFID
- อ่านได้หลายๆ TAG พร้อมๆกัน แต่ก้ขึ้นอยุ่กับความถี่และเครื่อง Reader รวมไปถึง software ด้วย บางเครื่องก็มีข้อจำกัด ทำให้อ่านได้ไม่เยอะ ไม่ไกล
- ตัว Reader อ่าน Tag ได้เกือบทุกแนวการจัดวาง ทั้งแนวราบ แนวเอียง แต่ก็ขึ้นอยุ่กับตัว Reader อีก ว่ามีความแรงและระยะการส่งมากแค่ไหน
- อ่านได้ทะลุวัตถุเกือบทุกชนิด ยกเว้น โลหะ ยกตัวอย่าง การวาง กระป๋องโค้ดคั่นกลางระหว่างตัว Reader กับ Tag ผลคือ อ่าน Tag ไม่ได้ คิดว่าน่าจะอยู่ที่ตัว Reader ด้วย
- ตัว Tag ทนทาน ไม่แตก ไม่พัง ง่าย กันน้ำได้อีก แต่ก้ขึ้นอยุ่กับประเภทของ Tag ด้วย แบบพลาสติกก็มี แบบกระดาษก็มี
- อ่านได้ไกลและความเร็วสูง อันนี้อยู่ตัว Reader จังๆเลย ว่ามีขนาดของเสาและความถี่เท่าไหร่ ส่วนความเร็วก้ขึ้นอยู่กับ Hardware และ Software ว่าจะเข้ากันได้หรือเปล่า
=============================================================
Tag แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Active Tag เป็น Tag ที่มีแบตเตอรี่อยู่ข้างใน เมื่อมีไฟเลี้ยงตลอดก็ทำงานได้ไกลขึ้น แต่ว่ามีอายุการใช้งานด้วย อาจจะเป็นสิบปี เอากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ ราคาแพง(มาก) ส่วนมากมนบ้านเราจะใช้กับสินค้าที่มีราคาสูงๆ หรือของที่อาจจะถูกขโมยได้ Tag พวกนี้มองหาได้ในแผนกเครื่องสำอางของห้างสรรพสินค้าทั่วไป
2. Passive Tag เป็น Tag ที่มีชิปเล็กๆกับขดลวดทองแดงแบนๆ วนเป้นขด Tag แบบนี้จะทำงานได้ต้องอาศัยคลื่นที่ส่งมาจาก Reader เพื่อเหนี่ยวนำคลื่อนมาเป้นกระแสไฟฟ้า(น่าจะพวกสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) ทำให้ระยะการทำงานขึ้นอยุ่กับตัว Reader รูปร่างมีหลากหลายมาก ข้อดีคือ ราคาถูก
=============================================================
มาตรฐานของ RFID (ขอพูดถึงแค่ 4 ชนิด)
1. LF (Low Frequency) แบบความถี่ต่ำ ทำงานที่ความถี่ 125KHz ใช้ในงานพวกระบบหอพัก บัตรพนักงาน และปศุสัตว์ ระยะการทำงานจะสั้น แต่ผมเคยเห้นว่ามีโครงการในบ้านเราที่ขยายของเขตของเครื่องอ่านให้คลอบคลุมทั้งฟาร์มเลยก้ยังได้ (เทพจริงๆ) ทั้งเครื่องอ่านและ Tag ราคาถูก
2. HF (High Frequency) แบบความถี่สุง ทำงานที่ความถี่ 13.56 MHz ใช้งานคล้ายๆกับแบบ LF มีเพิ่มมาก้เรื่องระบบสต๊อกสินค้า Logistic การขนส่งต่างๆ ส่วนราคาก็กลางๆ ไม่แพงมากจนเกินไป เป้ยมาตรญานที่งาน Project และงานทั่วไปใช้กัน แบ่งย่อยออกได้อีก 2 แบบ
2.1 ISO 14443 (Mifare) มีอุปกรณ์ทั้ง Reader และ Tag ขายกันมาก หลายแบบ
2.2 ISO 15693 (I.Code) หาอุปกรณ์ยากครับ
ส่วนตัวแล้ว ผมเองก้ไม่รุ้ว่าทั้ง 2 แบบต่างกันยังไง คงเหมือนกับ notebook ยี่ห้อ acer กับ asus ที่มันก็เป้น notebook เหมือนกัน จะมีแตกต่างหน่อยก็ตรงสเปค
ใน Project ของผมใช้ Mifare ครับ ตอนนั้นมั่วเอาเอง ไม่รุ้ว่าจะเอาอันไหนดี
3. UHF (Ultra Hugh Frequency) แบบความถี่สุงยิ่ง ทำงานที่ความถี่ 433, 868(Europe) และ 915 (US) ใช้กับงานที่ต้องการะยะการทำงานที่มากขึ้น เช่น พวกที่จอดรถ งานทางด่วน ราคาแพง
4. Microwave ทำงานที่ความถี่ 2.4 และ 5.8 GHz ราคาแพงสุดๆ ใช้กับงานติดตามการขนส่งอย่างพวก Logistic
==============================================================
Anticollision คือ การป้องกันการชนกันของข้อมูล เวลาที่เราเอา Tag หลายๆอัน ไปอ่านกับ Reader ตัวเดียว เครื่องอ่านที่ไม่มี Anticollision มันจะงงว่าจะอ่านอันไหนก่อน หลังดี แต่ถ้ามีก้จะมีการจัดลำดับการอ่านที่เป้นระบบและทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดตอนอ่านเขียนข้อมุลด้วย
ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง Mifare และ I.CODE
ที่มา : http://www.electoday.com/
การพิจารณาว่าจะใช้ I.code หรือ Mifare ตามความคิดของผมมีดังนี้ครับ
1. อุปกรณ์ตัวอ่านหรือโมดูลตัวอ่านของเราที่ซื้อมามันรับบัตรหรือตัว Tag ชนิดไหน เป็น I.code หรือ Mifare
2. ตัวบัตรหรือ Tag ที่ใช้อยู่(กรณ๊ที่มีของเดิมใช้อยู่) เป็น Icode หรือ Mifare
3. เปรียบเทียบราคาของทั้งสองว่าเหมาะสมกับงานหรืองบประมาณที่เรารับได้หรือไม่
หมายเหตุ :
1. ตัวบัตรหรือ Tag และตัวอ่านหรือโมดูลตัวอ่าน ของระบบทั้งสอง จะคล้ายกัน แตกต่างกันในส่วนของรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่อยู่ในบัตรหรือ Tag เท่านั้นเอง
2. ตัวอ่านหรือโมดูลอ่านบัตรอาจมีความถึ่ในการอ่านไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาด้วยครับ เช่น ความถึ่ 13.56 MHz หรือ 125 KHz หรือความถี่อื่นๆ
ตัวอย่างโมดูลตัวอ่านและคู่มือ
1. Mifare ที่นี่ครับ http://www.thaieasyelec.com
2. Icode ที่นี่ครับ http://www.thaieasyelec.com