บักทึกสรุปใจความที่เขียนไว้นานแล้ว เอาปรับปรุงใหม่นิดหน่อย เผื่อจะเป้นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง
บันทึกสรุปความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน Mifare และ I.Code ของ RFID
Mifare ตามาตรฐาน ISO 14443A
- หน่วยความจำมีหลายแบบ คือ Ultralight 512 Bits, Classic (แบบ Standard ทั่วไป) 1 K และ 4K หากเลือกแบบ 512 bits จะมีรูปแบบการจัดการหน่วยความจำแบบเดียวกับ I.Code
- Mifare Classic จะมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมุลสุงกว่า I.Code และแบบ UltraLight โดยการใช้รหัส Key A/Key B และกำหนดการเข้าใช้งานด้วยการเข้ารหัสที่ AccessBit
- แยกหน่วยความจำออกเป็น Sector และ Block ทำให้แยกเก้บข้อมูลได้หลาย Application ในบัตรเดียวกันได้ ซึ่งแต่ละ Sector จะมีรหัส Key A/B ของตัวเอง
- ระยะการอ่านจะค่อนข้างใกล้(ขึ้นอยุ่กับขนาดของ RFID Reader ด้วย) คือ 0-5 cm แต่เสถียรกว่า I.Code ที่อ่านได้ไกลกว่า 0-100 cm
- ราคาถูกกว่ามาก เพราะนิยมใช้กันมาก
- อัตราการรับส่งข้อมูล 106 KBuad
I.Code ตามมาตรฐาน ISO15693
- มีหน่วยความจำให้เลือกใช้งานหลายแบบ 512, 1024, 2048 Bits และ Tags ที่ใช้ Chip ของ Infeneon จะมี 10K Bits แต่ราคาจะแพงกว่ามาก
- ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจะใช้การป้องกันเพียงอ่านอย่างเดียว(Read Only) และ อ่าน/เขียน (Read/Write) ได้ ในแต่ละ Block เท่านั้น หากกำหนดให้เป็น Read Only แล้วจะไม่สามารถกลับค่ามาเป็น Read/Write ได้อีก
- แยกหน่วยความจำออกเป็น Block ละ 4 Byte ซึ่งแต่ละ Block จะมีรหัส Lock ของแต่ละ Block
- ระยะการอ่าน 0-100 cm
- ราคราแพงเพราะใช้งานกันน้อยกว่า MiFare
- อัตราการส่งข้อมูล 53Kbit/Sec
คำศัพท์เฉพาะ
Bit Rate คือ จำนวน Bit ที่ช่องทางสามารถผ่านไปได้ภายใน 1 วินาที มีหน่วยเป้น bps (bit per second) หรืออัตราความเร็วการส่งผ่านข้อมูล
Data Rate คือ จำนวน Bit ของข้อมุลจริงที่ผ่านไปในช่องทาง Digital ปกติจะน้อยกว่า Bit Rate เนื่องจากจำนวน Bit ส่วนหนึ่งจะใช้ไปในส่วนหัว (Overhead) ของข่าวสารสำหรับการติดต่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
Baud Rate คือ จำนวนสัญญาณ Digital หรือ Analog(ที่ถูกเปลี่ยนเป็น Digital แล้ว) ส่งผ่านไปใน Channel ภายใน 1 วินาทีมีหน่วยเป็น Buad per Second
Bit Rate = Baud Rate x Bit ใน 1 Baud
No comments: