ต่อจากบทความคราวก่อนครับ
Propellor Clock V1 ตอนที่ 1 : หาข้อมูลและไอเดียก่อนทำ(1)
ในบทความก่อน ผมได้พูดถึงไอเดียในการทำโครงงานนี้ครับ
ว่ามาจากไหน หายังไง จนในที่สุดผมก็ได้วงจรที่ผมจะทำเป็นโครงงาน
แต่ปัญหาที่ผมค่อยๆค้นพบก็คือ
- การจ่ายไฟให้กับวงจรที่หมุนอยู่ตลอดเวลา
- ใช้มอเตอร์แบบไหน ที่หามาก็จะมี ใช้มอเตอร์เทป มอเตอร์พัดลม มอเตอร์หัววิด๊โอเทป
เข็ม Harddisk
- ยังไม่เข้าใจการจับจังหวะของวงจร ว่าจะให้เลขมันออกมาตอนหมุนยังไง
ยังไงก็ตามมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมครับ
คราวก่อนมีสมาชิก 1 ท่านที่ช่วยตอบปัญหาให้ผมอยู่ตลอด ซึ่งผมเองก็ขี้สงสัยเลยถามไปตลอดเช่นกัน
ก็คือ คุณboom จนวันหนึ่งคุณ boom ก็ได้ลงภาพ propellor clock ที่ได้สร้างเอง โครงสร้างเป้นแบบ
แนวตั้ง ทำให้มีปัญหาเรื่องการแกว่งน้อยลงครับ ดูจากฐานแล้วผมว่าคล้ายๆกับฐานเตารีดยังไงชอบกล
หลังจากที่เห็นรูปทั้งหมดแล้ว คำถามที่ยังค้างในใจผมก้ยังอยู่ครับ
นั่นก็คือ แล้วจะส่งไฟไปให้บอร์ดยังไง ดูจากรูปด้านบนจะเห็นแค่ สายไฟสีแดงสองเส้น
ที่ต่อจากมอเตอร์มาที่บอร์ดครับ
คำถามที่ว่านี้ถีงแม้ว่าคุณ boom จะตอบแล้ว แต่ผมเองก็ยังไม่เข้าใจ จึงไม่ได้ใช้วิธีนี้ในการทำ
โครงงานครับ
แต่หลังจากนั้นไม่นานผมก็ไปเจอเว็บที่ไขข้อข้องใจของผมครับ
http://www.metricmind.com/clock/clock.htm
จากภาพจะเห็นเลยครับว่า การต่อไปจากภายนอกเข้ามาที่วงจร ทำกันยังไง
อุปกรณ์สำคัญก็คือ พัดลมขนาดเล็กที่ใช้ไฟ 12 VDC ครับ
พัดลมแบบนี้ผมลองไปหาดูแล้ว ราคาจะประมาณ 300-400 บาท
– แกะพัดลมแยกออกเป็นส่วนๆ
- ส่วนสำคัญอยู่ที่แกนมอเตอร์ครับ
- นี่ไงครับ การแก้ปัญหาคือใช้สายไฟขนาดเล็กต่อกับแผ่นทองแดง
บริเวณแปรงถ่าน ตรงนี้คงต้องระวังมากๆครับ
เพราะถ้าสายไฟหลุดอาจเกิดปัญหาใหญ่
ได้ครับ
- ปัญหาอีกอย่างก็คือ ต้องเอาสายไฟที่ต่อไว้แล้วออกมา
การแก้ปัญหาตรงนี้ ใช้การเจาะรูแกนโรเตอร์ อย่างที่เห็นในรูป 3 รูครับ
- แล้วก็ค่อยใช้สายไฟลอดรูที่ได้เจาะไว้
เท่านี้ก็สามารถส่งไฟไปให้วงจรได้แล้วครับ
แต่ว่าปัญหามันก็อยู่ตรงที่การเจาะรูนี่หละครับ ผมลองไปดูพัดลมอย่างที่ว่านี้ พอลองดูดีๆ
ตรงที่จะเจาะรูมันไม่มีครับ สรุปก็คือ ใช้วิธีไม่ได้
สุดท้ายแล้ววิธีที่ผมจะใช้ก็คือ ใช้หน้า contact แบบเดียวกับแปรงถ่านในมอเตอร์
เพื่อใช้ในการส่งไฟไปให้วงจรที่กำลังหมุนอยู่ครับ
คราวหน้าจะมาว่าต่อเรื่องการสร้างวงจรจริงๆครับ
No comments: