Slider[Style1]

Style2

Style3[OneLeft]

Style3[OneRight]

Style4

Style5[ImagesOnly]

Style6

รวมข้อมูลการใช้งาน Prestashop ตามสไตล์ Know2Pro


รวมข้อมูลการใช้งาน Prestashop ตามสไตล์ Know2Pro

   ระบบขายสินค้าที่มีคนแนะว่าใช้ง่าย ปรับแต่งไม่ยาก ผมเองก็เคยเล่นมาบ้าง แต่ไม่จริงจังมากนัก แต่ในตอนนี้เห็นทีต้องเอาจริงสักที

30-May-2011
ลองหา Theme ของ Prestashop ที่บอกว่ามีมากมาย มันก็จริงนะ แต่ว่ามันไม่ฟรีนี่สิ ส่วนของหรีหายากหน่อย กำลังรวบรวมเรื่อยๆ

การใช้งาน Prestashop ผมว่าง่ายกว่า joomla ซะอีก เพราะระบบเน้นไปที่ระบบร้านค่าตรงๆเลย ภาษาไทย คนแปลก้ทำได้เยี่ยมมากๆ ต้องขอบคุณจริงๆครับ
รวมเว้บ Theme Prestashop แบบหาเอง งมเอง
http://www.ajaxbang.com/joomla/shape-5-shopper-frenzy-template-joomla-virtuemart/
http://www.prestashopic.com/download-free-prestashop-themes
http://prestashopthemesdownload.wordpress.com/
https://globonetics.com/prestashop-themes/free-prestashop-themes.html
http://www.freetemplates.fr/free-prestashop-template-et-clean-ble-by-ezytrader/
http://insectstore.com/entertainment/webmaster/best-free-premium-prestashop-templates-themes

29-May-2011
ลองหาข้อมูลเบื้องต้นจากเว้บ http://killthewhat.com/howto/prestashop/ ต่อมาก็ลองหาไฟล์มาติดตั้งบน Server2go
ค้นข้อมูลไปเจอว่ามีแบบภาไทยด้วย และก็ได้จากที่นี่ http://www.picohosting.com/howto/prestashop-1.2-thai เป็นเวอร์ชั่น 1.3

แต่ก็รู้มาอีกว่ามีเวอร์ชั่น 1.4 แล้ว และก็ไปเจอจาก http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=183244.0

ตกลงว่าเอาเวอร์ชั่น 1.3 มาทดลองติดตั้งก่อน เล่นๆกันไปทั้งคืน

รวมข้อมูลการใช้งาน Joomla Virtuemart ตามสไตล์ Know2Pro


รวมข้อมูลการใช้งาน Joomla Virtuemart ตามสไตล์ Know2Pro

Joomla เป็นตัวจัดการเว้บไซตืที่ติดตั้งง่าย จัดการง่าย ส่วน Virtuemart เป็นตัว component ที่เอาไว้เพิ่มความสามารถให้ joomla กลายเป็นเว็บขายสินค้า

ผมจะลองใช้งานตัวนี้ดุครับ เพราะมีเป้ามหายและคิดไวเว่าน่าจะใช้ตัวนี้แทนการเขียน Hard Code แบบเดิมๆ ตอนนี้ก็จะลองเล่นไปเรื่อยๆ ก่อน ไล่อัพเดตการใช้งานตามเวลาว่างที่มี

30-May-2011
ใช้ virtuemart พอจะเป็นแล้ว ทั้งเรื่องการจัดวางตำแหน่ง Module การวางสินค้าต่างๆ เวลาน้อยเลยต้องเร่งๆหน่อย
เรื่องสำคัญอีกอย่างคือ Theme ของ Joomla Template กำลังหาไปเรื่อยๆ ได้มาแล้วก็ต้องลองเล่นอีก
http://template4all.blogspot.com/
ตอนนี้มีอยู่หลายตัวแล้ว จากเว็บหลายๆที่ แต่ต้องลองทดสอบให้แน่ใจก่อนว่าใช้ได้ชัวร์

29-May-2011
ทดลองติดตั้งใช้งาน ปรับแต่งค่าต่างๆ ตามเว็บ http://killthewhat.com/howto/joomla/
เป้นเว็บที่ให้ข้อมูลการใช้งาน CMS ที่ดีมากๆ เว็บหนึ่ง แนะนำเลยสำหรับมือใหม่

ฝึกทำเว็บขายสินค้าออนไลน์ด้วย CMS ชื่อดัง 3 ตัว

หลังจากห่างหายจากการเขียนเว็บ ทำเว็บ มานานพอสมควร ผมก็ได้ไอเดียการทำเว้บใน Generation ต่อไปของผมว่าจะหยุดการเขียนดค้ดเองทั้งหมด เพราะมันเหนื่อย ยาก และใช้เวลานานเกิน ยกเว้นงานที่จำเป้นจริงๆ
     และงานที่มีเข้ามาผ่านห๔ผ่านตามากที่สุดคือ การเปิดร้านขายสินค้าออนไลน์ หรือ E Commerce นั่นเอง งานนี้ผมเคยลองทำแบบ Hard Code มาแล้ว ก็คือ thainotebookparts.com ที่ใช้ PHP เป้นแกนหลักในการเขียน
     แต่ตอนนี้ผมสนใจการใช้ CMS ในการทำเพราะติดตั้งง่าย โค้ดมีมาตรฐานกว่า มี Plugin ตัวเสริมมากมาย Theme หรือ Template ก้มีมาให้
     หลังจากหาข้อมูลมา 1 คืน ก็คิดว่าจะลองเล่น 3 ตัวนี้ดูก่อน ว่าจะเข้าท่าหรือเปล่า ตอนนี้กำลังทดลองอยุ่ได้ผลยังไงเดี๋ยวจะมาว่ากันอีกที

Joomla + Virtuemart
ตัว joomla ผมถนัดพอสมควร ที่เหลทอก็แค่ลองใช้งาน virtuemart

ฝึกทำเว็บขายสินค้าออนไลน์ด้วย CMS ชื่อดัง 3 ตัว

Pretashop
เคยเห็นจากการซื้อแผ่นสอน  after effect มาก่อน คิดว่าคงใช้ง่าย(มั้ง)

ฝึกทำเว็บขายสินค้าออนไลน์ด้วย CMS ชื่อดัง 3 ตัว

Magento
ได่ยินมาว่าใช้ยาก ไม่รู้จริงหรือเปล่า รอทดสอบต่อไป

ฝึกทำเว็บขายสินค้าออนไลน์ด้วย CMS ชื่อดัง 3 ตัว

นอกจากนี้ ผมยังมีแผนฝึกเขียน template ใช้เองด้วย ตอนนี้กำลังศึกษา joomla template อยู่

คงใช้เวลาสักพักครับ

Know2pro RFID Project ตอนที่ 7 : ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Project RFID หลายๆที่

Know2pro RFID Project ตอนที่ 7 : ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก Project RFID หลายๆที่

แนะนำแหล่งข้อมูลดีๆ อีกอย่างครับ นั่นก็คือ Project ที่ใช้ RFID ของหลายๆที่ หลายๆสถาบัน เอาไว้ศึกษา เปรียบเทียบข้อมูลได้เป้นอย่างดีเลยครับ เพราะเอกสารแบบนี้คือ เอกสารที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว ผมเองก็เอาไว้ดูเทคนิคการใช้ RFID ในหลายๆ รูปแบบครับ

เอกสาร RFID อ้างอิง

รวมเอกสาร RFID Project

รวมเอกสาร RFID Project ชุดสอง

Know2pro RFID Project ตอนที่ 6 : กว่าจะเป็นแบบเสนอหัวข้อ Project

Know2pro RFID Project ตอนที่ 6 : กว่าจะเป็นแบบเสนอหัวข้อ Project

      ลองคิดทบทวนดูแล้ว ตอนที่ผมตกลงปลงใจทำ Project ตัวนี้(เพื่อนชวน) ในตอนนั้นที่ผมเรียน วิศวคอมพิวเตอร์ ปี 1 ใกล้ๆปี 2 ผมนึกไม่ออกจริงๆ ให้ตายเหอะ ว่าผมจะทำ Project อะไรดี ที่เรียนผ่านมาก็ดันมีแต่วิชาสามัญ อย่างพวก แคลคูลัส อังกฤษ วัสดุศาสตร์ ที่เกี่ยวกับสาขาก้มีพวกวิชา Digital ทฤษฏี Software ที่เรียนแล้วกลายเป็นเป็ดไปยังไงไม่รู้ เหอะๆ พอเพื่อนชวนหน่อยก็เอาเลย ทั้งที่ตัวเองไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย จริงๆเล้ย เรา

     และพอต้องรวบรวมข้อมูลก้ใช้เวลาพักใหญ่ ประกอบกับผมเป้นคนที่ชอบทำงานคนเดียวมากกว่า(ไม่ไว้ใจคนอื่น) เลยเหนื่อยหน่อย ไหนต้องไปคุยกับ อาจารย์ รวบรวมข้อมุลไปคุย ทำใบเสนอ(ช่วยๆกัน) กว่าจะออกมาได้ ก็แทบแย และกว่าจะผ่านก็ลำบากตามล่าหาอาจารย์เพื่อล่าลายเซ็น ในครบ 3 คน และ 2 ใน 3 คนเนี่ยก็ตามตัวยากซะด้วย สุดท้ายก็ผ่านมาจนได้

   ไม่ว่าจะยังไงก้ตามจนแล้วจนรอด ผมก็มาลงเอยกับ Project ตัวนี้จนได้ (ถึงจะไม่ค่อยอยากทำก็เหอะ) และในบทความนี้ผมก็ได้รวบรวมเอกสารประกอบการสร้าง “เอกสารเสนอหัวข้อ Project”

[Download@Skydrive] ไฟล์แบบเสนอหัวข้อ Project ใช้งานจริง

Know2pro RFID Project ตอนที่ 5 : ข้อมูลการเขียน Visual Basic ติดต่อกับ RFID Reader

Know2pro RFID Project ตอนที่ 5 : ข้อมูลการเขียน Visual Basic ติดต่อกับ RFID Reader

ศึกษาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อ RFID Reader ด้วย Visual Basic ครับ ผมเองก็มีพื้นฐานแค่นิดๆหน่อย เดี๋ยวคงต้องลองดูก่อนครับ
เอกสารทั้งหมดผมสั่งปริ้นจากเว็บไซต์โดยตรงครับ พยายามรวบรวมมาเท่าที่จะหาได้แล้ว

RFID และ การติดต่อฐานข้อมูล ด้วย VB6 ภาค 1 (ทฤษฎี และ รูปแบบข้อมูล)
เว็บไซต์ http://www.g2gnet.com
RFID และ การติดต่อฐานข้อมูล ด้วย VB6 ภาค 2 (การอ่านข้อมูล)
เว็บไซต์ http://www.g2gnet.com

การเขียนโปรแกรม VB ติดต่อ RFID ม การใช้งาน RFID MODULE ต่อกับ RS232
เว็บไซต์ http://www.rfidbasic.com/main.php?topic_id=31

การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร PSoC กับโมดูลอารเอฟไอดี [อ่านออนไลน์ด้วยเว็บ Scribd]

Know2pro RFID Project ตอนที่ 4 : ลองซื้ออุปกรณ์จาก Website

Know2pro RFID Project ตอนที่ 4 : ลองซื้ออุปกรณ์จาก Website

     หลังจากศึกษาข้อมูลอยู่พักหนึ่ง ทั้งอ่านจากเอกสาร จากเว็บ ก็ได้เวลาลองของจริงแล้ว ในตอนที่ 2 ผมได้ลองเล่นเครื่องที่ยิมมาจากอาจารยืที่ปรึกษามา เพราะตอนนั้นไม่มีเงิน จนถึงเวลาที่ผมต้องมาซื้อเองบ้าง
งานนี้ก้ต้องพึ่งพี่ Google ครับ
     หากันอยุ่นาน ก้เจออยู่ราวๆ สิบเว็บได้ และพอคัดไปคัดมา ตัดบางเว็บที่ดุไม่น่าเชื่อถือ ติดต่อไม่ได้ ก็เหลือสองเว็บหลักๆ คือ

http://www.acentech.net/
เว้บนี้เป้นบริษัทใหญ่ น่าเชื่อถือ พอโทรไปสอบถามก็ทำการสั่งเครื่องอ่านรุ่นนี้ไป 1 เครื่อง รวมกับ Tag อีกจำนวนหนึ่ง
เครื่องอ่าน/เขียนRFID 13.56MHz รุ่น102UMW
Know2pro RFID Project ตอนที่ 4 : ลองซื้ออุปกรณ์จาก Website

ราคาที่คุยคือ ราวๆ 4000 บาท (แพงโคตร) แต่ตอนนั้นไม่รู้ว่ายังมีอีกเว้บที่ราคาถูกกว่ามาก นั่นก็คือ

http://www.thaieasyelec.com/
เว็บชุมชนคนขอบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีของให้เล่นมากมาย ซื้อหาได้ในราคาไม่แพงมาก และที่น่าตกใจคือ เครื่อง Reader ที่ผมเพิ่งสั่งซื้อไปเนี่ย ในเว็บนี้มันราคาไม่ถึง 2000 เลยด้วยซ้ำ เหอะๆ พลาดอย่างแรง
Know2pro RFID Project ตอนที่ 4 : ลองซื้ออุปกรณ์จาก Website
สเปคก็คล้ายๆกัน เรียกได้ว่าแทนกันได้เลย ถึงเลขรุ่นจะไม่เหมือนกัน แต่รายละเอียดอย่างอื่นเหมือนกันหมด

- Frequency  13.56MHz
– Reader and Writer
– Protocol  ISO14443A (Mifare)
– Tag supported  FM11RF08 , Ultralight , Ultralight C , Mifare Mini , Mifare 1K , Mifare 4K
– Interface  USB (Virsual Com Port)
– Dimension  110 × 80 × 26 mm
– Temperature range -20° – +50°
– Weight 100g
– System Windows 98 2000 XP NT ME Vista
- Tag ที่ใช้ ต้องเป็นแบบ Mifare
ส่วน Software ผมไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ เพราะมีอยู่แล้วหลายโปรแกรม

สรุปเอาว่า คราวหน้าผมจะซื้อของจากเว็บที่ราคาถูกดีกว่า เฮ้อ

Know2pro RFID Project ตอนที่ 3 : รื้อฟื้นพื้นฐาน RFID จากประสบการณ์


Know2pro RFID Project ตอนที่ 3 : รื้อฟื้นพื้นฐาน RFID จากประสบการณ์
     ห่างหายจากการทำ Project ไปนานหลายเดือน สาเหตถหลักๆก็มาจากงานนี่หละครับ เลิกงานมาผมก้หมดแรงซะแล้ว แถมต้องทำงานตั้งแต่จันทร์ถึงเสาร์อีก พอจะออกมาก้ออกไม่ได้ เพราะออกมาทำ Project ก้คงจะไม่มีเงินกินเงินใช้ (ไม่ได้ขอเงินพ่อแม่แล้วนะ เออ) แต่ก็ช่างเถอะครับ มาเข้าเนื้อหาดีกว่า
     บทความนี้จะเป็นการรื้อฟื้นความรู้พื้นฐานของ RFID ของผมเอง เป็นการสรุปสาระสำคัญสั้นๆ ง่ายๆ เน้นใช้งานจริง

RFID ย่อมาจาก Radio Frequency Identification เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
ที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เพื่อวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแท่งหรือบารโคด (Barcode)

**ผมว่าการจะเอามาแทน Barcode โดยตรงเลย คงยากและอาจจะใช้เวลานานนะครับ เพราะราคาต้นทุนของ Tag ไหนจะตัวอ่านอีก แพงกว่าเห้นๆ ผมว่า Barcode ยังอยุ่ได้อีกนานในตลาดการค้านะครับ เพราะคถ้มค่ากว่าเยอะ แถมตอนนี้ก็มี barcode แบบใหม่ที่เรียกว่า QR-CODE อีก (แล้วไหงตูมาทำ Proejct RFID ฟะเนี่ย)

===============================================================

ส่วนประกอบหลักๆของ RFID มีอยู่ 2 ส่วนใหญ่ๆ
1. ตัว Reader ทำหน้าที่ส่งสัญญาณวิทยุ ไปให้กับ Tag และทำการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ตัว Reader จะมี IC ที่ใช้ควบคุมและเสาอากาศที่ใช้ในการรับส่งข้อมุล
Know2pro RFID Project ตอนที่ 3 : รื้อฟื้นพื้นฐาน RFID จากประสบการณ์
2. ตัว Tag ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและติดต่อกับตัว Reader
Know2pro RFID Project ตอนที่ 3 : รื้อฟื้นพื้นฐาน RFID จากประสบการณ์==============================================================

ข้อดีของ RFID
- อ่านได้หลายๆ TAG พร้อมๆกัน แต่ก้ขึ้นอยุ่กับความถี่และเครื่อง Reader รวมไปถึง software ด้วย บางเครื่องก็มีข้อจำกัด ทำให้อ่านได้ไม่เยอะ ไม่ไกล
- ตัว Reader อ่าน Tag ได้เกือบทุกแนวการจัดวาง ทั้งแนวราบ แนวเอียง แต่ก็ขึ้นอยุ่กับตัว Reader อีก ว่ามีความแรงและระยะการส่งมากแค่ไหน
- อ่านได้ทะลุวัตถุเกือบทุกชนิด ยกเว้น โลหะ ยกตัวอย่าง การวาง กระป๋องโค้ดคั่นกลางระหว่างตัว Reader กับ Tag ผลคือ อ่าน Tag ไม่ได้ คิดว่าน่าจะอยู่ที่ตัว Reader ด้วย
- ตัว Tag ทนทาน ไม่แตก ไม่พัง ง่าย กันน้ำได้อีก แต่ก้ขึ้นอยุ่กับประเภทของ Tag ด้วย แบบพลาสติกก็มี แบบกระดาษก็มี
- อ่านได้ไกลและความเร็วสูง อันนี้อยู่ตัว Reader จังๆเลย ว่ามีขนาดของเสาและความถี่เท่าไหร่ ส่วนความเร็วก้ขึ้นอยู่กับ Hardware และ Software ว่าจะเข้ากันได้หรือเปล่า 

=============================================================

Tag แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Active Tag เป็น Tag ที่มีแบตเตอรี่อยู่ข้างใน เมื่อมีไฟเลี้ยงตลอดก็ทำงานได้ไกลขึ้น แต่ว่ามีอายุการใช้งานด้วย อาจจะเป็นสิบปี เอากลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ ราคาแพง(มาก) ส่วนมากมนบ้านเราจะใช้กับสินค้าที่มีราคาสูงๆ หรือของที่อาจจะถูกขโมยได้ Tag พวกนี้มองหาได้ในแผนกเครื่องสำอางของห้างสรรพสินค้าทั่วไป
Know2pro RFID Project ตอนที่ 3 : รื้อฟื้นพื้นฐาน RFID จากประสบการณ์
2. Passive Tag เป็น Tag ที่มีชิปเล็กๆกับขดลวดทองแดงแบนๆ วนเป้นขด Tag แบบนี้จะทำงานได้ต้องอาศัยคลื่นที่ส่งมาจาก Reader เพื่อเหนี่ยวนำคลื่อนมาเป้นกระแสไฟฟ้า(น่าจะพวกสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) ทำให้ระยะการทำงานขึ้นอยุ่กับตัว Reader รูปร่างมีหลากหลายมาก ข้อดีคือ ราคาถูก
Know2pro RFID Project ตอนที่ 3 : รื้อฟื้นพื้นฐาน RFID จากประสบการณ์

=============================================================

มาตรฐานของ RFID (ขอพูดถึงแค่ 4 ชนิด)
1. LF (Low Frequency) แบบความถี่ต่ำ ทำงานที่ความถี่ 125KHz ใช้ในงานพวกระบบหอพัก บัตรพนักงาน และปศุสัตว์ ระยะการทำงานจะสั้น แต่ผมเคยเห้นว่ามีโครงการในบ้านเราที่ขยายของเขตของเครื่องอ่านให้คลอบคลุมทั้งฟาร์มเลยก้ยังได้ (เทพจริงๆ) ทั้งเครื่องอ่านและ Tag ราคาถูก
2. HF (High Frequency) แบบความถี่สุง ทำงานที่ความถี่ 13.56 MHz ใช้งานคล้ายๆกับแบบ LF มีเพิ่มมาก้เรื่องระบบสต๊อกสินค้า Logistic การขนส่งต่างๆ ส่วนราคาก็กลางๆ ไม่แพงมากจนเกินไป เป้ยมาตรญานที่งาน Project และงานทั่วไปใช้กัน แบ่งย่อยออกได้อีก 2 แบบ
2.1 ISO 14443 (Mifare) มีอุปกรณ์ทั้ง Reader และ Tag ขายกันมาก หลายแบบ
2.2 ISO 15693 (I.Code) หาอุปกรณ์ยากครับ
   ส่วนตัวแล้ว ผมเองก้ไม่รุ้ว่าทั้ง 2 แบบต่างกันยังไง คงเหมือนกับ notebook ยี่ห้อ acer กับ asus ที่มันก็เป้น notebook เหมือนกัน จะมีแตกต่างหน่อยก็ตรงสเปค
ใน Project ของผมใช้ Mifare ครับ ตอนนั้นมั่วเอาเอง ไม่รุ้ว่าจะเอาอันไหนดี
3. UHF (Ultra Hugh Frequency) แบบความถี่สุงยิ่ง ทำงานที่ความถี่ 433, 868(Europe) และ 915 (US) ใช้กับงานที่ต้องการะยะการทำงานที่มากขึ้น เช่น พวกที่จอดรถ งานทางด่วน ราคาแพง
4. Microwave ทำงานที่ความถี่ 2.4 และ 5.8 GHz ราคาแพงสุดๆ ใช้กับงานติดตามการขนส่งอย่างพวก Logistic
==============================================================
Anticollision คือ การป้องกันการชนกันของข้อมูล เวลาที่เราเอา Tag หลายๆอัน ไปอ่านกับ Reader ตัวเดียว เครื่องอ่านที่ไม่มี Anticollision มันจะงงว่าจะอ่านอันไหนก่อน หลังดี แต่ถ้ามีก้จะมีการจัดลำดับการอ่านที่เป้นระบบและทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดตอนอ่านเขียนข้อมุลด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง Mifare และ I.CODE
ที่มา : http://www.electoday.com/
การพิจารณาว่าจะใช้ I.code หรือ Mifare ตามความคิดของผมมีดังนี้ครับ
1. อุปกรณ์ตัวอ่านหรือโมดูลตัวอ่านของเราที่ซื้อมามันรับบัตรหรือตัว Tag ชนิดไหน เป็น I.code หรือ Mifare
2. ตัวบัตรหรือ Tag ที่ใช้อยู่(กรณ๊ที่มีของเดิมใช้อยู่) เป็น Icode หรือ Mifare
3. เปรียบเทียบราคาของทั้งสองว่าเหมาะสมกับงานหรืองบประมาณที่เรารับได้หรือไม่

หมายเหตุ :
1. ตัวบัตรหรือ Tag และตัวอ่านหรือโมดูลตัวอ่าน ของระบบทั้งสอง จะคล้ายกัน แตกต่างกันในส่วนของรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่อยู่ในบัตรหรือ Tag เท่านั้นเอง
2. ตัวอ่านหรือโมดูลอ่านบัตรอาจมีความถึ่ในการอ่านไม่เท่ากัน ต้องพิจารณาด้วยครับ เช่น ความถึ่ 13.56 MHz หรือ 125 KHz หรือความถี่อื่นๆ

ตัวอย่างโมดูลตัวอ่านและคู่มือ
1. Mifare  ที่นี่ครับ http://www.thaieasyelec.com
2. Icode ที่นี่ครับ  http://www.thaieasyelec.com